วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

หน่วยนำข้อมูลเข้า หน่วยนำข้อมูลออก

หน่วยนำข้อมูลเข้า (Input Unit)
เป็นอุปกรณ์รับเข้า ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รับเข้าที่ใช้กันเป็นส่วนใหญ่คือ แผงแป้นอักขระ (keyboard) และเมาส์ (mouse)

เทอร์มินัล (Terminal)
ประกอบด้วยจอภาพและคีย์บอร์ดในการสั่งงานคอมพิวเตอร์ให้ผู้ใช้พิมพ์ข้อความผ่านคีย์บอร์ดแล้วไปปรากฏที่หน้าจอ  คีย์บอร์ดจะมีลักษณะเป็นแป้นสี่เหลี่ยมผืนผ้าประกอบด้วยปุ่มแทนอักขระปัจจุบันมักใช้ 101 ปุ่ม
            เทอร์มินัลแบ่งเป็น 2 ประเภท
                        1. เทอร์มินัลแบบธรรมดา
                        2. เทอร์มินัลแบบเชิงปัญญา

                                    

เมาส์ (Mouse)
เมาส์แบ่งได้เป็นสองแบบคือ แบบทางกลและแบบใช้แสง แบบทางกลเป็นแบบที่ใช้ลูกกลิ้งกลม เมื่อเลื่อนเมาส์ไปในทิศทางใดจะทำให้ลูกกลิ้งเคลื่อนไปมาในทิศทางนั้น ลูกกลิ้งจะทำให้กลไกซึ่งทำหน้าที่ปรับแกนหมุนในแกน X และแกน Y แล้วส่งผลไปเลื่อนตำแหน่งตัวชี้บนจอภาพ เมาส์แบบใช้แสงอาศัยหลักการส่งแสงจากเมาส์ลงไปบนแผ่นรองเมาส์ (mouse pad)

                                                


แทร็กบอล (Track Ball)
คล้ายเมาส์แต่หงายเอาลูกกลิ้งขึ้นมาไว้ข้างบน การใช้งานจะใช้มือกลิ้งลูกกลิ้ง ไม่ค่อนสะดวกในการใช้งาน มักจะใช้กับเครื่องในตระกูลแลปทอป เพื่อประหยัดเนื้อที่

                                                                 
หน่วยนำข้อมูลออก (Output Unit)
เป็นอุปกรณ์ส่งออก (output device) ทำหน้าที่แสดงผลจากการประมวลผล โดยนำผลที่ได้ออกจากหน่วยความจำหลักแสดงให้ผู้ใช้ได้เห็นทางอุปกรณ์ส่งออก อุปกรณ์ส่งออกที่นิยมใช้ส่วนใหญ่คือ จอภาพ และเครื่องพิมพ์
        อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ชั่วคราว เช่น จอภาพ
        อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ถาวร เช่น เครื่องพิมพ์
        อุปกรณ์แสดงผลทางกราฟิก เช่น พลอตเตอร์
จอภาพ (Monitor)
หลักการทำงานคล้ายจอโทรทัศน์ คือ คอมพิวเตอร์จะแปลงสัญญาณให้วิดีโอ
แสดงผลยิงลำแสงอิเล็กตรอนไปยังพื้นผิวของจอภาพ ซึ่งฉาบไว้ด้วยฟอสฟอรัส
แบ่งการแสดงผลออกเป็น 2 ประเภทคือ
        แสดงภาพด้วยการสร้างจุดภาพ (Pixel)
        แสดงภาพด้วยการใช้เส้น (Vector)
       จอภาพที่มีสีเดียว (Monochrome)
       จอภาพสี (Red,Green,Blue:RGB)

         

เครื่องพิมพ์ (Printer)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้แสดงผลลัพธ์โดยการพิมพ์ลงกระดาษ
 เรียกการพิมพ์ประเภทนี้ว่า Hard Copy
 สามารถแยกเครื่องพิมพ์ได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ดังนี้
        1. Serial Printer
        2. Line Printer
        3. Page Printer
         
                                        


   Line Printer
เป็นเครื่องพิมพ์แบบกระทบ พิมพ์ได้ทีละบรรทัด มีความเร็วอยู่ในช่วง 1000 -
5000 lpm (Line per minute) แบ่งได้เป็น 3 แบบ คือ
            1. The Band Printer เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้หลักการวิ่งของตัวอักษรตามแนวนอน หัวพิมพ์จะเคาะผ่านผ้าหมึกให้ตัวอักษรปรากฏอยู่บนกระดาษ
            2.The Chain Printer เหมือนกับ Band Printer แต่จะใช้ห่วงโซ่แทน
            3. The Drum Printer อักษรจะอยู่บน Drum ซึ่งจะหมุนตลอดเวลาเมื่อถึงจังหวะจะพิมพ์ตัวอักษรหัวพิมพ์ก็จะเคาะผ่านกระดาษและผ้าหมึกทันที

                                         


พล็อตเตอร์ (Plotter)
ถูกผลิตมาใช้ในงานการสร้างรูปภาพทางกกราฟิก เช่น  การออกแบบ แผนผัง แผนที่และชาร์ตต่างๆ
 หลักการทำงานจะรับสัญญาณจากเครื่องคอมพิวเตอร์      
  ควบคุมการเลื่อนปาก กาบนกระดาษ แบ่งเป็น
            1.พลอตเตอร์แบบทรงกระบอก (Drum Plotter)
            2.พลอตเตอร์แบบระนาบ (Flatbed Plotter)
            3.อิเล็กโตรดแตติคพลอตเตอร์ (Electrostatic Plotter)

                                           

Page Printer
เป็นเครื่องพิมพ์แบบไม่กระทบ โดยส่วนมากจะใช้เทคโนโลยีเลเซอร์   ได้แก่   เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ (Laser Printer)
 เป็นเครื่องพิมพ์ความเร็วสูงมีความเร็วไม่ต่ำกว่า 6 หน้าต่อนาที
 จะใช้ผงหมึก (Toner) ในการพิมพ์

                                           

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น