วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

หน่วยนำข้อมูลเข้า หน่วยนำข้อมูลออก

หน่วยนำข้อมูลเข้า (Input Unit)
เป็นอุปกรณ์รับเข้า ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รับเข้าที่ใช้กันเป็นส่วนใหญ่คือ แผงแป้นอักขระ (keyboard) และเมาส์ (mouse)

เทอร์มินัล (Terminal)
ประกอบด้วยจอภาพและคีย์บอร์ดในการสั่งงานคอมพิวเตอร์ให้ผู้ใช้พิมพ์ข้อความผ่านคีย์บอร์ดแล้วไปปรากฏที่หน้าจอ  คีย์บอร์ดจะมีลักษณะเป็นแป้นสี่เหลี่ยมผืนผ้าประกอบด้วยปุ่มแทนอักขระปัจจุบันมักใช้ 101 ปุ่ม
            เทอร์มินัลแบ่งเป็น 2 ประเภท
                        1. เทอร์มินัลแบบธรรมดา
                        2. เทอร์มินัลแบบเชิงปัญญา

                                    

เมาส์ (Mouse)
เมาส์แบ่งได้เป็นสองแบบคือ แบบทางกลและแบบใช้แสง แบบทางกลเป็นแบบที่ใช้ลูกกลิ้งกลม เมื่อเลื่อนเมาส์ไปในทิศทางใดจะทำให้ลูกกลิ้งเคลื่อนไปมาในทิศทางนั้น ลูกกลิ้งจะทำให้กลไกซึ่งทำหน้าที่ปรับแกนหมุนในแกน X และแกน Y แล้วส่งผลไปเลื่อนตำแหน่งตัวชี้บนจอภาพ เมาส์แบบใช้แสงอาศัยหลักการส่งแสงจากเมาส์ลงไปบนแผ่นรองเมาส์ (mouse pad)

                                                


แทร็กบอล (Track Ball)
คล้ายเมาส์แต่หงายเอาลูกกลิ้งขึ้นมาไว้ข้างบน การใช้งานจะใช้มือกลิ้งลูกกลิ้ง ไม่ค่อนสะดวกในการใช้งาน มักจะใช้กับเครื่องในตระกูลแลปทอป เพื่อประหยัดเนื้อที่

                                                                 
หน่วยนำข้อมูลออก (Output Unit)
เป็นอุปกรณ์ส่งออก (output device) ทำหน้าที่แสดงผลจากการประมวลผล โดยนำผลที่ได้ออกจากหน่วยความจำหลักแสดงให้ผู้ใช้ได้เห็นทางอุปกรณ์ส่งออก อุปกรณ์ส่งออกที่นิยมใช้ส่วนใหญ่คือ จอภาพ และเครื่องพิมพ์
        อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ชั่วคราว เช่น จอภาพ
        อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ถาวร เช่น เครื่องพิมพ์
        อุปกรณ์แสดงผลทางกราฟิก เช่น พลอตเตอร์
จอภาพ (Monitor)
หลักการทำงานคล้ายจอโทรทัศน์ คือ คอมพิวเตอร์จะแปลงสัญญาณให้วิดีโอ
แสดงผลยิงลำแสงอิเล็กตรอนไปยังพื้นผิวของจอภาพ ซึ่งฉาบไว้ด้วยฟอสฟอรัส
แบ่งการแสดงผลออกเป็น 2 ประเภทคือ
        แสดงภาพด้วยการสร้างจุดภาพ (Pixel)
        แสดงภาพด้วยการใช้เส้น (Vector)
       จอภาพที่มีสีเดียว (Monochrome)
       จอภาพสี (Red,Green,Blue:RGB)

         

เครื่องพิมพ์ (Printer)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้แสดงผลลัพธ์โดยการพิมพ์ลงกระดาษ
 เรียกการพิมพ์ประเภทนี้ว่า Hard Copy
 สามารถแยกเครื่องพิมพ์ได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ดังนี้
        1. Serial Printer
        2. Line Printer
        3. Page Printer
         
                                        


   Line Printer
เป็นเครื่องพิมพ์แบบกระทบ พิมพ์ได้ทีละบรรทัด มีความเร็วอยู่ในช่วง 1000 -
5000 lpm (Line per minute) แบ่งได้เป็น 3 แบบ คือ
            1. The Band Printer เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้หลักการวิ่งของตัวอักษรตามแนวนอน หัวพิมพ์จะเคาะผ่านผ้าหมึกให้ตัวอักษรปรากฏอยู่บนกระดาษ
            2.The Chain Printer เหมือนกับ Band Printer แต่จะใช้ห่วงโซ่แทน
            3. The Drum Printer อักษรจะอยู่บน Drum ซึ่งจะหมุนตลอดเวลาเมื่อถึงจังหวะจะพิมพ์ตัวอักษรหัวพิมพ์ก็จะเคาะผ่านกระดาษและผ้าหมึกทันที

                                         


พล็อตเตอร์ (Plotter)
ถูกผลิตมาใช้ในงานการสร้างรูปภาพทางกกราฟิก เช่น  การออกแบบ แผนผัง แผนที่และชาร์ตต่างๆ
 หลักการทำงานจะรับสัญญาณจากเครื่องคอมพิวเตอร์      
  ควบคุมการเลื่อนปาก กาบนกระดาษ แบ่งเป็น
            1.พลอตเตอร์แบบทรงกระบอก (Drum Plotter)
            2.พลอตเตอร์แบบระนาบ (Flatbed Plotter)
            3.อิเล็กโตรดแตติคพลอตเตอร์ (Electrostatic Plotter)

                                           

Page Printer
เป็นเครื่องพิมพ์แบบไม่กระทบ โดยส่วนมากจะใช้เทคโนโลยีเลเซอร์   ได้แก่   เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ (Laser Printer)
 เป็นเครื่องพิมพ์ความเร็วสูงมีความเร็วไม่ต่ำกว่า 6 หน้าต่อนาที
 จะใช้ผงหมึก (Toner) ในการพิมพ์

                                           

หน่วยความจำ หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง


หน่วยความจำ Memory Unit
เป็นแหล่งเก็บข้อมูลและโปรแกรมต่าง ๆ ที่จะต้องถูกในมาใช้
ในการประมวลผล และเมื่อประมวลผลเสร็จก็จะนำไปเก็บหน่วยความจำ
สิ่งที่ใช้ในการผลิตหน่วยความจำ
        ขดลวดแม่เหล็ก Magnetic Core
        สารกึ่งตัวนำ Semiconductor Memory
        วงจรไฟฟ้าขนาดเล็ก Monolithic Memory Chip
        วงจรรวม Integrated Circuit or IC

                    
                                    


  ประเภทของหน่วยความจำ

                  1.หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ (Volatile memory) เป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลได้เมื่อมีไฟฟ้าหล่อเลี้ยง ถ้าไฟดับข้อมูลก็จะหายไป ได้แก่หน่วยความจำประเภท RAM (Random Access Memory) เป็นหน่วยความจำที่ต่อเชื่อมกับ CPU

                  2.หน่วยความจำแบบไม่ลบเลือน (Nonvolatile memory) เป็นอุปกรณ์ที่ต่อเชื่อมกับ CPU จะบันทึกข้อมูลมาจากโรงงานไม่สามารถลบ หรือแก้ไขข้อมูลได้ อ่านได้อย่างเดียวเรามักเรียกว่า ROM (Read Only memory)


หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage)
เป็นที่เก็บข้อมูลหรือโปรแกรมที่ยังไม่ถูกเรียกใช้โดย CPU
เพื่อเตรียมเข้าสู่หน่วยความจำในเครื่อง แบ่งได้เป็น 2 ประเภท
            1. แบบเข้าถึงแบบลำดับ (Sequential access media)
            2. แบบเข้าถึงโดยตรง (Direct access media)

                                 
                                                 

การปฏิบัติงานของหน่วยควบคุม (CU)


  การปฏิบัติงานของหน่วยควบคุม (CU)

          1. รับคำสั่ง ในจังหวะแรกนี้ ชุดคำสั่งจะถูกดึงจากส่วนความจำเข้าสู่ส่วนควบคุมแล้วแยกออกเป็นสองส่วน คือ ส่วนที่เป็นรหัสคำสั่ง เรียกว่า วงจรสร้างสัญญาณ (Decoder) เพื่อเตรียมทำงานในจังหวะที่สอง และส่วนที่เป็น          ออเพอแรนด์ จะแยกออกไปยังวงจรอีกส่วนหนึ่ง เพื่อปฏิบัติให้เสร็จสิ้น

            2. ปฏิบัติ วงจรควบคุมจะสร้างสัญญาณขึ้นเพื่อส่งไปควบคุมส่วนต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ตามรหัสคำสั่งที่ได้รับมา เช่น การบวก ลบ คูณ หาร หรือย้ายข้อมูล เครื่องคอมพิวเตอร์หลายแบบใช้วงจรควบคุมที่เป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างเสร็จเรียบร้อยติดไว้ในเครื่อง เครื่องคำนวณ จะเก็บสัญญาณควบคุมเหล่านี้ไว้ในส่วนความจำพิเศษที่เรียกว่า รอม (ROM)





การปฏิบัติงานของหน่วยคำนวณทาง   คณิตศาสตร์และตรรกศาสตร์ (ALU)
                     ส่วนคำนวณทำหน้าที่ใหญ่ ๆ สองประการ คือ ประการแรกทำการบวก ลบ คูณ และหาร ประการที่สองคือ ทำหน้าที่ตัดสินใจว่าข้อมูลส่วนใหญ่หรือเล็กกว่าอีกข้อมูลหนึ่ง หน้าที่ทั้งสองประการนี้สามารถปฏิบัติการเป็นผลสำเร็จได้โดยอาศัยวงจรตรรกะอันเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ ส่วนคำนวณสามารถเลื่อนข้อมูลไปทางซ้าย หรือทางขวา เก็บหรือย้ายข้อมูลไปยังส่วนอื่น ๆ ของส่วนควบคุมกลางได้
                             
                               


วงจรตรรกะ Logic Circuits
                    เป็นวงจรทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ส่วนประกอบ เช่น ตัวความต้านทาน ตัวเก็บประจุ ไดโอด ทรานซิสเตอร์ ฯลฯ มาจัดให้สามารถทำงานแทนการคำนวณทางตรรกะได้ โดยใช้ "การมีสัญญาณไฟฟ้า" และ "ไม่มีสัญญาณไฟฟ้า" แทนสภาวะตรรกะ "จริง" และ "เท็จ" หรือ "1" กับ "0" ทำให้สามารถสร้างวงจรขึ้นได้ 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ
1. วงจรตรรกะจัดหมู่ (  combination   logic )
2. วงจรตรรกะจัดลำดับ ( sequential   logic )


                     

รายละเอียดองค์ประกอบด้านฮาร์ดแวร์ของ ระบบคอมพิวเตอร์


รายละเอียดองค์ประกอบด้านฮาร์ดแวร์ของ ระบบคอมพิวเตอร์
                                                                                                                                                                
                 

หน่วยประมวลผลกลาง   Central Processing Unit / CPU
        ประมวลผลตามคำสั่งที่เขียนไว้ในโปรแกรม
        รับส่งข้อมูลโดยติดต่อกับหน่วยความจำภายในเครื่อง
        ติดต่อรับส่งข้อมูลกับผู้ใช้ โดยผ่านหน่วยรับข้อมูลและหน่วยแสดงผล
        ย้ายข้อมูลและคำสั่งจากหน่วยงานหนึ่งไปยังอีกหน่วยงานหนึ่ง

        ประมวลผลตามคำสั่งที่เขียนไว้ในโปรแกรม
        รับส่งข้อมูลโดยติดต่อกับหน่วยความจำภายในเครื่อง
        ติดต่อรับส่งข้อมูลกับผู้ใช้ โดยผ่านหน่วยรับข้อมูลและหน่วยแสดงผล
        ย้ายข้อมูลและคำสั่งจากหน่วยงานหนึ่งไปยังอีกหน่วยงานหนึ่ง
       
                                      

ส่วนประกอบของหน่วยประมวลผลกลาง
        หน่วยควบคุม
      ควบคุมอุปกรณ์นำเข้าและแสดงผลข้อมูล
      ตัดสินใจในการเอาข่าวสารเข้าออกจากหน่วยความจำ
      กำหนดเส้นทางการส่งข้อมูลจากหน่วยความจำไปยัง AUL
      ทำหน้าที่ในการถอดรหัส
                                    –      ควบคุมการถอดรหัสให้เป็นไปตามขั้นตอน 
        หน่วยคำนวณทางเรขาคณิตและตรรกศาสตร์ (Arithmetic and Logical Unit / ALU)
      การดำเนินงานทางเชิงเลขคณิต (Arithmetic Operation)
      การดำเนินงานเชิงตรรกวิทยา (Logical Operation)





องค์ประกอบด้านบุคลากร

 องค์ประกอบด้านบุคลากร
                  ด้านระบบ (System)
                  ผู้วิเคราะห์และออกแบบระบบ
                  ผู้เขียนโปรแกรมระบบ
                  ทางด้านโปรแกรมมิ่ง (Programming)
                  Application Programming
                  Maintenance Programming
                  ดีบีเอ (DBA:Database Administrator)
                  ผู้ปฏิบัติการ (Operator)
                  ผู้ใช้ (User)
 องค์ประกอบด้านข้อมูล
               ข้อมูลที่จะนำเข้าระบบคอมพิวเตอร์ จะมีหน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุดได้แก่ตัวอักขระ (Character) เมื่อนำมาประกอบกันเป็นหน่วยของข้อมูลจะได้เป็นฟิลด์ (Field) เมื่อนำหลาย ๆ ฟิลด์มาประกอบกันเป็นหน่วยของข้อมูลจะได้เป็นเรคอร์ด (Record) และเมื่อนำหลาย ๆ เรคอร์ดมาประกอบกันก็จะได้เป็นไฟล์ (File)
                                       

องค์ประกอบด้านด้านระเบียบ คู่มือ  และมาตรฐาน
                  ระเบียบปฏิบัติ
                ระเบียบในด้านสถานที่ติดตั้งคอมพิวเตอร์
                ระเบียบเกี่ยวกับการเข้าไปใช้ห้องคอมพิวเตอร์
                ระเบียบด้านการจัดหาการติดตั้ง
                ระเบียบด้านการดูแลซ่อมบำรุง
                ระเบียบด้านการบันทึก การใช้ การปรับปรุงการเก็บรักษาข้อมูล
                ระเบียบด้านการส่งเอกสาร

                  คู่มือ
                คู่มือฮาร์ดแวร์
                คู่มือซอฟต์แวร์

                                               



                  มาตรฐาน
                มาตรฐานรหัสภาษาไทย
                มาตรฐานด้านรหัสคำ
                มาตรฐานด้านวิธีการปฏิบัติงาน

องค์ประกอบด้านการสื่อสารข้อมูล
                  การจัดเก็บและการค้นคืนสารสนเทศ
                  คอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์
                  การรับและส่งผ่านสารสนเทศ
                  การแบ่งเวลาเครื่อง
                ติดต่อสื่อสารสารสนเทศกับผู้ใช้ทางไกล
                ตอบรับทันทีที่ผู้ใช้ปลายทางร้องขอ
                บริการผู้ใช้หลายคนในเวลาเดี่ยวกัน
                อนุญาตให้ผู้ใช้ปลายทางใช้โปรแกรมต่างกันได้
                  การสื่อสารข้อมูล เป็นกระบวนการส่งผ่านและรับสารสนเทศระยะไกลในรูปแบบของสัญญาณ แล้วแพร่กระจายผ่านช่องทางการสื่อสารต่างๆ ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้
                อุปกรณ์แสดงสารสนเทศ
                อุปกรณ์ส่งผ่านสารสนเทศ
                อุปกรณ์สื่อสารข้อมูล