วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2555

ปลาที่น่ากลัว 3

                                                  Basking Shark

                         

                                                         
 
ฉลามบาสกิ้น ความจริงยังมีฉลามอีกมากควรติดอันดับ เช่นฉลามยักษ์เมกาโลดอน (Megalodon Sharkหรือฉลามเมกาเมาทธ์ (MegaMouth ) แต่ดูเหมือนว่าฉลามบาสกิ้นจะดูโดดเด่นที่สุดในอันดับของเรา โดยฉลามชนิดนี้เป็นยักษ์ใหญ่ผู้ใจดีแห่งท้องทะเลใหญ่เป็นอันดับสองรองจากฉลามวาฬยาวประมาณ 12.27 เมตร หนักกว่า 19 ตัน มีรายงานการพบปลาขนาดใหญ่ที่นอร์เวย์วัดได้ยาว 12 เมตร มีปากขนาดใหญ่
แต่กินแพลงตอนเป็นอาหารโดยปากของมันจะเหมือนตัวกรองที่สามารถดูดน้ำเข้าปากได้ 2000 ตันต่อชั่วโมง พบในมหาสมุทรที่น้ำเย็นทั่วโลก แต่เนื่องจากมันเชื่อมช้าทำให้ มันมักติดมากับอวดของชาวประมงอยู่บ่อยๆ อีกทั้งมันยังถูกล่าในเชิงพาณิชย์อีกด้วยทำให้มันเริ่มหายาก (ครีบ กระดูกอ่อนยาจีน เนื้อดิบญี่ปุ่น) ทำให้กลายเป็นสัตว์สงวนห้ามล่า
 
                                                      Lamprey

                      
ปลาแลมเพรย์เป็นปลาไหลชนิดหนึ่ง ลำตัวด้านหลังมักจะเป็นสีดำ มีครีบหลังและครีบหาง แต่ไม่มีครีบคู่ ไม่มีเกล็ด ปากจะอยู่ค่อนลงมาทางด้านท้อง มีลักษณะคล้ายแว่นใช้สำหรับดูด ปากกลมซึ่งไม่จำเป็นต้องมีกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ขึ้นมาบังคับขากรรไกรให้อ้าและหุบแบบปัจจุบัน พวกมันต้องการเพียงปากที่มีตะขอสำหรับเกาะเหยื่อเพื่อดูดเลือดสัตว์อื่นเป็นอาหาร และดำรงชีพเป็นปรสิตเมื่อดูดเลือดของเหยื่อจนตัวเหยื่อแห้งก็จะปล่อยแล้วหาเหยื่อใหม่ (แลมเพรย์มีหลายชนิด บางชนิดไม่จำเป็นต้องดำรงแบบปรสิต)
                               
                      

แลมป์เพรย์ มีทั้งในน้ำจืดและน้ำทะเล และมีกระจายอยู่ทั่วโลก คือ อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ ยุโรป      อาฟริกาตะวันตก ญี่ปุ่น ชิลี นิวซีแลนด์ และ ทาสเมเนีย

                                                   Goblin Shark 

          
ฉลามก็อบบลิน มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Mitsukurina Owstoni (ตามชื่อเรือประมงที่ค้นพบ) เป็นปลาฉลามที่หายากและข้อมูลของมันมีน้อยมาก มันอาศัยในแถบมหาสมุทรแปซิฟิคตอนใต้ ไล่ไปจนถึงมหาสมุทรแอตแลนติคและมหาสมุทรอินเดียตอนใต้ พบครั้งแรกที่ประเทศ ญี่ปุ่น รูปร่างลักษณะของมันก็เหมือนฉลามธรรมดาผิวสีเทา มีหาง มีครีบ แต่จะมีครีบที่ค่อนข้างมากอยู่สักหน่อย และส่วนที่เห็นได้ชัดเลยว่าแตกต่างไปจากฉลามตัวอื่น คือ เป็นส่วนที่ยื่นออกมาจากหน้าผากมัน หรือก็คือจมูกที่มีลักษณะแบนราบซึ่งจะ เป็นตัวช่วยให้ฉลามก็อบบลิน  หาเหยื่อได้ โดยจะมีอวัยวะที่ทำงานคล้ายเซนเซอร์ไฟฟ้าอยู่ข้างในจมูกของมัน คอยส่งสัญญาณให้ฉลามก็อบบลิน รู้ว่าเหยื่ออยู่ที่ไหน ระยะทางเท่าไหร่ แต่บางทีมันก็ใช้การดมกลิ่นแทน ส่วนขนาด ความยาวทั้งตัวตั้งแต่หัวถึงหางของฉลามก็อบบลินก็ยาวประมาณ 11-15 ฟุตหรือ 3.3 -4.5 เมตร
ปัจจุบันไม่มีรายงานการโจมตีของฉลามชนิดนี้เลยเนื่องจากมันหายากและอยู่ในน้ำลึก  ส่วนสาเหตุที่หายากและใกล้สูญพันธุ์เนื่องมาจากใต้ทะเลนั้นมืดมิด โอกาสที่จะได้เจอ คู่ของมันนั้นยากมาก ทำให้ไม่มีโอกาสผสมพันธ์กัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น