วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2555

ปลาน้ำลึก 1

                                        
                                        ปลาหัวใส ( barreleye fish )

                               ปลาหัวใส

                          ด้วยหัวปลาพันธ์นี้ที่คล้ายกับ ส่วนช่องคนขับเครื่องบินรบ ( fighter-plane cockpit ) ปลาบาร์เริลอายแปซิฟิก (Pacific barreleye fish) หรือ (Macropinna microstoma)เป็น ปลาน้ำลึก ที่ถูกค้นพบอาศัยอยู่ในน้ำลึกมากกว่า 2000 ฟุต ( 600 เมตร ) บริเวณเขตน่านน้ำ แคริฟอร์เนียกลาง ( California's central coast ) โดย Monterey Bay Aquarium Research Institute (MBARI) ซึ่งมันเป็นการค้นพบสายพันธ์ใหม่ของปลาที่มี หัวเป็นโดมโปร่งใสปลาบาร์เริลอายแปซิฟิก (Pacific barreleye) มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 6 นิ้ว ( 15 เซ็นติเมตร ) บริเวณส่วนหน้าที่เห็น 2 จุดเล็กนั้นไม่ใช่ ตาแต่เป็น อวัยวะรับกลิ่น และที่เห็นเป็นโดมสีเขียวนั้นคือตัวกรองแสงอาทิตย์จากด้านบน และมีดวงตาเป็นจุดเล็กๆ ลางๆ เหนือรูรับกลิ่น ปลาบาร์เริลอายเป็นที่รู้จักแล้วมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1939 แต่สถาพในการค้นพบครั้งแรก ปลาได้เสียชีวิต และมีสภาพเสียหายอย่างมากจากการถูกจับได้ด้วยการลากอวน แต่รูปที่ได้เห็นชุดนี้ได้รับการบันทึกได้ในขณะมีชีวิต และมีสภาพสมบูรณ์ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2552จากการศึกษาจากเครื่องมือระยะไกล และจับมาศึกษา นายคิม ( Kim Reisenbichler ) กล่าวว่า พบว่าดวงตาของปลาบาร์เริลอายแปซิฟิก นั้นสามารถโฟกัส จับภาพเหยือได้เหมือนนกนักล่าทีเดียว

             
                                      ปลาหมึกโบ้ ( Dumbo octopus )

                                               

            ปลาหมึก ดัมโบ้ เป็นปลาหมึกน้ำลึก พันธุ์ Grimpoteuthis ที่ถูกเรียกเล่นๆ ว่า ปลาหมึกดัมโบ้ " Dumbo octopus " เนื่องจากครีบที่เหมือนใบหูบนหัว (แต่ความจริง เป็นลำตัวไม่ใช่หัว) ช่างคล้ายกับ ช้างสีชมพู มีใบหูขนาดใหญ่ ซึ่งทำให้ให้ช้างน้อยตัวนี้บินได้ จากการ์ตูนดังของ (Walt Disney’s) คลีบใหญ่นี้มีประโยชน์ในการช่วยว่ายน้ำ

                             
                                            ปลาบร็อบ ( Blob   fish)
                  
                                                

ปลาบร็อบ ( Blobfish ) หรือชื่อทางวิทยาศาสตร์ " Psychrolutes marcidus " เป็นปลาน้ำลึกที่พบในน่านน้ำ ออสเตรเลีย ( Australia ) และ แทสมาเนีย ( Tasmania ) เนื่องจากการเข้าถึงแหล่งที่อยู่อาศัยทำได้ยาก จึงไม่ค่อยมีผู้พบเห็นมากนัก
ปลาบร็อบ ( Blob fish ) ถูกพบในระดับความลึกที่มีแรงดันมากกว่าปกติ ถึง 12 เท่าทำให้ถุงลม ( ที่รู้จักกันในชื่อ " กระเพาะปลา " มีหน้าที่ เก็บกักอากาศ หรือปล่อยอากาศออกเพื่อประโยชน์ในการลอยตัว หรือดำน้ำ ) ขาดประสิทธิภาพ เพื่อที่ปลา สามารถลอยตัวได้ ปลาจึงมีเนื้อที่มีลักษณะเป็นวุ้น
                                                          






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น